วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ซอฟท์เทนนิส

    
Taiwan's soft tennis players won Taiwan's first gold medal in the 2010 Asian Games. (CNA)


         ซอฟท์เทนนิส  เป็นกีฬาที่ถือกำเนิดขึ้นมาในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลานานแล้ว และเป็นที่นิยมกันทั่วประเทศ นับเป็นกีฬาประจำชาติอย่างหนึ่งของชาวอเมริกันประมาณครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ผู้เล่นซอฟท์เทนนิสต้องการที่จะเล่นต่อไปในฤดูหนาวด้วย จึงทำให้เกิดซอฟท์เทนนิสในร่มขึ้น แต่ก็ประสบปัญหาเพราะสนามในร่มที่ใหญ่ที่สุดเพียงใดก็ยังเล็กกว่าสนามซอฟท์เทนนิสกลางแจ้ง
จึงมีความจำเป็นต้องดัดแปลงลูกบอลให้ใหญ่พอดี เพื่อให้ตีไปได้ไกลเท่ากับลูกบอลขนาดธรรมดากฎกติกาต่างๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมที่จะเล่นในร่ม อย่างไรก็ตาม ซอฟท์เทนนิสในร่มก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก
ซอฟท์เทนนิสต้องการที่จะเล่นต่อไปในฤดูหนาวด้วย จึงทำให้เกิดซอฟท์เทนนิสในร่มขึ้น แต่ก็ประสบปัญหาเพราะสนามในร่มที่ใหญ่ที่สุดเพียงใดก็ยังเล็กกว่าสนามซอฟท์เทนนิสกลางแจ้ง
จึงมีความจำเป็นต้องดัดแปลงลูกบอลให้ใหญ่พอดี เพื่อให้ตีไปได้ไกลเท่ากับลูกบอลขนาดธรรมดากฎกติกาต่างๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมที่จะเล่นในร่ม อย่างไรก็ตาม ซอฟท์เทนนิสในร่มก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก
File:Soft-tennis-court-lines.jpg

คอร์ดของกีฬาซอฟท์เทนนิส



Line NameIndicationLine Length
Base Line for SinglesIJ, KL8.23 m
Base Line for DoublesAB, CD10.97 m
Side Line for SinglesIK, JL23.77 m
Side Line for DoublesAC, BD23.77 m
Service LineEF, GH8.23 m
Side Service LineEG, FH12.80 m
Center Service LineMN12.80 m
Center MarkR, S0.15 m
NetXY12.65 m




กติกากีฬาซอฟท์เทนนิส
ข้อ 1.เบสออนบอล (Base On Balls)
                 เบสออนบอล หมายถึง การที่ผู้ตีได้สิทธิ์ครอบครองเบสหนึ่งโดยถูกทำเอาต์ไม่ได้ ผู้ตัดสิน     ประจำเพลตจะให้ผู้ตีได้เบสออนบอลเมื่อการพิตช์เป็น " บอล " 4 ครั้ง บางครั้งอาจเรียกว่า " วอล์ค"
ข้อ 2.เขตผู้ตี ( Batter 's Box)
                 เขตผู้ตี หมายถึง พื้นที่เฉพาะที่ผู้ตีเข้าไปยืนอยู่ในตำแหน่งเพื่อช่วยให้ทีมของตนทำคะแนนได้
ข้อ 3.บล็อกบอล (Blocked Ball )
                 บล็อกบอล หมายถึง ลูกบอลที่ถูกขว้าง ซึ่งถูกแตะ หยุดหรือจับต้องไว้ได้โดยบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน หรือสัมผัสกับวัตถุ อื่นใดที่ไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ หรือสนามแข่งขัน
ข้อ 4.บันต์ (Bunt)
                 บันต์ หมายถึง ลูกบอลที่ถูกตีซึ่งผู้ตีไม่เหวี่ยงไม้ตี โดยตั้งใจให้ไม้ตีกระทบลูกบอล แล้วลูกบอลเกลิ้งอย่างช้า ๆ อยู่ภายในอินฟีลด์
ข้อ 5.ชาร์จคอนเฟอเรนซ์ (Charged Conference )
                 ชาร์จคอนเฟอเรนซ์ เกิดขึ้นเมื่อ (ชาร์จคอนเฟอเรนซ์ของทีมฝ่ายรับ ) ทีมฝ่ายรับให้หยุดการแข่งขันชั่วขณะไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม แล้วผู้แทนของทีมฝ่ายรับ (ซึ่งไม่อยู่ในสนามแข่งขัน) เข้าไปในสนามและพูดคุยกับผู้เล่นฝ่ายรับคนหนึ่งคนใด เมื่อผู้แทนจากเขตที่พักของทีมเข้าไปในสนามและเปลี่ยนพิตเชอร์ออกจากตำแหน่งพิตช์ ไม่นับเป็นชาร์จคอมเฟอเรนช์ของพิตเชอร์คนใหม่แต่เป็นชาร์จคอนเฟอเรนช์ของทีมฝ่ายรับ
ข้อ 6.ช็อปบอล (Chopped Ball )
                 ช็อปบอล หมายถึง การตีที่ผู้ตีตีลงมาในลักษณะการฟันไม้ลงเพียงให้ลูกบอลกระดอนสูงขึ้นไปในอากาศ
ข้อ 7.โครว์ฮอป ( Crow Hop ) ( เฉพาะประเภทฟาสต์พิตช์ )
                 โครว์ฮอป หมายถึงการกระทำของพิตเชอร์ที่ก้าว ลาก หรือกระโดดออกจากด้านหน้าของพิตเชอร์เพลต ปักเท้าหลัง ลงไปที่ใหม่ด้านหน้าพิตเชอร์เพลตเพื่อสร้างแรงส่งครั้งที่ 2 ( หรือสร้างจุดเริ่มต้นใหม่) ส่งตัวเองจากจุดเริ่มต้นที่สร้างขึ้นมาใหม่แล้วทำการปล่อยลูกจนสมบูรณ์( การกระทำนี้เป็นการกระที่ผิดกติกา )
ข้อ 8.เดดบอล ( Dead Ball )
                 เดดบอล หมายถึง
                            - ลูกบอลที่สัมผัสวัตถุใด ๆ ซึ่งไม่ใช่สวนของอุปกรณ์
                            - ลูกบอลที่ติดอยู่ในอุปกรณ์ของผู้ตัดสินหรือชุดแข่งขันของผู้เล่นฝ่ายรุก
                            - ลูกบอลที่ผู้ตัดสินว่าเป็นเดดบอล ภายหลังจากเดดบอลจะถือว่าเป็นบอลอินเพลย์อีก  ครั้งหนึ่ง
ข้อ 9.ดีเลย์เดดบอล ( Delayed Dead Bell )
                 สถานการณ์ของการแข่งขันซึ่งยังคงเป็นบอลอินเพลย์ไปจากการเล่นสิ้นสุดลง เมื่อการเล่นครั้งนั้นยุติลง ให้ผู้ตัดสินขานเดดบอล

ตัวอย่างการแข่งขันกีฬาซอฟท์เทนนิส

ซูโม่


ซูโม่ (ญี่ปุ่น: 相撲 sumō ซึโม ) หรือมวยปล้ำญี่ปุ่นเป็นกีฬาประจำชาติที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ประวัติของซูโม่สามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงศตวรรษที่ 8 โดยวังหลวงได้คัดเลือกนักมวยปล้ำจากกองทัพมาสู้กัน เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ชาววังในเกียวโต และพัฒนาจนกลายเป็นกีฬาอาชีพในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมจากประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ เป็นต้น อีกด้วย
ประเพณีที่ยึดถือในกีฬาซูโม่นั้นมีความเก่าแก่มาก และยึดถือเป็นแบบปฏิบัติต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน เช่น การโปรยเกลืออันเป็นสัญลักษณ์แสดงความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่ซูโม่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในศาสนาชินโต การใช้ชีวิตของนักปล้ำซูโม่นั้นเคร่งครัดเป็นอย่างยิ่ง และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยสมาคมซูโม่ นักปล้ำซูโม่อาชีพจะใช้ชีวิตร่วมกันภายใต้ค่ายสังกัด (heya) ของตนเอง โดยแบบแผนการดำเนินชีวิตในทุกด้าน นับตั้งแต่อาหารการกิน ไปจนกระทั่งการแต่งกาย นั้น ถูกกำหนดด้วยประเพณีปฏิบัติอันเคร่งครัด


ค่ายมวยปล้ำที่เป็นที่นิยม ?

  • อันดับ 1 New Japan Pro Wrestling (NJPW) เป็นค่ายใหญ่ที่สุด ผู้ก่อตั้งคือ Antonio Inoki ก่อตั้งในปี 1972 รูปแบบการปล้ำแบบ Strong Styles เน้นความหนักน่วง และสมจริง
  • อันดับ 2 Pro Wrestling NOAH (NOAH) ผู้ก่อตั้งคือ Mitsuharu Misawa ก่อตั้งในปี 2000 รูปแบบการปล้ำแบบ Ark Styles เน้นความหนักน่วง และมีความสมจริง
  • อันดับ 3 Dragon Gate (DG) ผู้ก่อตั้งคือ Ultimo Dragon ก่อตั้งในปี 2004 (ถ้าไม่นับยุค Toryumon) รูปแบบการปล้ำแบบ LuchaResu มีความหนักน่วงแบบมวยปล้ำญี่ปุ่น มีลีลาการปล้ำในแบบเม็กซิโก้
นักมวยไทยคนแรก ที่ปล้ำในค่ายมวยปล้ำญี่ปุ่น ?
  • ซุเปอร์แมน โอสถสภา ในค่าย PWFG โดยพบกับ Kazuo Takahashi เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ปัจจุบัน ยังคงมีนักมวยไทยที่ปล้ำในค่ายมวยปล้ำญี่ปุ่นอย่าง ถนอมศักดิ์ Toba นักมวยปล้ำของค่าย DDT ลูกครึ่งไทยญี่ปุ่น
แชมป์ที่อายุน้อยที่สุดในโลก 
  • Mr.6 Go ได้แชมป์ด้วยวัยเพียง 6 ขวบ เป็นนักมวยปล้ำอิสระของค่าย DDT ส่วนในระดับ Major Promotion ก็คือ Katsuhiko Nakajima ได้แชมป์ AJPW All Asia ด้วยวัยเพียง 16 ปี ของค่าย AJPW

ยูโด

         ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo) เดิมทีเดียวเรียกกันว่า ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าและเป็นการทำลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ หลังจากที่ญี่ปุ่นได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสู้ และทำให้วิชายูยิตสูเสื่อมความนิยมลงจนหมดนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ได้มีชาวญี่ปุ่นชื่อ จิโกโร คาโน (Jigoro Kano) ชาวเมืองชิโรโกะ ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ในกรุงโตเกียว เมื่อปี พ.ศ. 2414 อายุ 18 ปี ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ในสาขาปรัชญาศาสตร์ (Philosophy) จนสำเร็จการศึกษา เมื่ออายุ 23 ปี ท่านจิโกโร คาโน เป็นบุคคลที่มีความเห็นว่าวิชายูยิตสูนอกจากจะเป็นกีฬาสำหรับร่างกายและจิตใจแล้ว ยังมีหลักปรัชญาที่ว่าด้วยหลักแห่งความเป็นจริง อีกทั้งท่านเป็นคนที่มีรูปร่างเล็กผอมบาง มีนิสัยไม่เกรงกลัวใคร 
ท่านจึงได้เข้าศึกษายูยิตสูอย่างจริงจังจากอาจารย์ผู้สอนวิชายูยิตสูหลายท่านจากโรงเรียนเทนจิ ซิโย (Tenjin Shinyo) และโรงเรียนคิโต (Kito)
ปี พ.ศ. 2425 ท่านจิโกโร คาโน อายุได้ 29 ปี ได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับวิชายูโดขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณวัดพุทธศาสนา ชื่อวัดอิโชจิ (Eishoji) โดยตั้งชื่อสถาบันนี้ว่า โคโดกัน ยูโด โดยได้นำเอาศิลปะของการต่อสู้ด้วยการทุ่มจากสำนักเทนจิ ซิโย และการต่อสู้จากสำนักคิโตเข้ามาผสมผสานเป็นวิชายูโดและได้ปรับปรุงวิธีการยูโดให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเปลี่ยแปลงในระบอบการปกครองและสังคมในขณะนั้น ได้สอดแทรกวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ คณิตศาสตร์ประยุกต์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จิตศาสตร์ และจริยศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยได้ตัดทอนยูยิตสู ซึ่งไม่เหมาะสมออก แล้วพยายามรวบรวมวิชายูยิตสูให้เป็นหมวดหมู่มีมาตรฐานเดียวกันตามความคิดของท่าน และได้ตั้งระบบใหม่เรียกว่า ยูโด (Judo)การจัด การแข่งขันประเภทการต่อสู้
  • การแข่งขันประเภททีมหนึ่งจะประกอบด้วยสมาชิกผู้แข่งขันรวมแล้วต้องเป็นเลข คี่ ทีมชายประกอยด้วยสมาชิก 7 คน ลงแข่งเพียง 5 คนในแต่ละรอบ ทีมหญิงประกอยด้วยสมาชิก 4 คน ลงแข่งเพียง 3 คนในแต่ละรอบ
  • แข่งขันทุกคือสมาชิกทั้งหมดของทีมโดยไม่มีการกำหนดตัวสำรอง
  • ก่อนการแข่งขันประเภททีม ตัวแทนของแต่ละทีมจะต้องส่งรายชื่อสมาชิกในทีม พร้อมทั้งลำดับการต่อสู้ของ แต่ละคน ซึ่งในแต่ละรอบการแข่งขันนั้น ผู้แข่งขันสามารถเปลี่ยนลำดับการต่อสู้ได้ แต่หลังจากที่ได้รายงาน และเสนอชื่อของการแข่งขันรอบนั้นต่อเจ้าหน้าที่แล้ว จะไม่มีการเปลี่ยนลำดับการต่อสู้อีก
  • เวลาในการแข่งขัน
  • ในการแข่งการแข่งขันของฝ่ายชายไม่ว่าจะเป็นการแข่งประเภททีมหรือบุคคลใช้เวลา 3 นาที ส่วนการแข่งของผู้หญิง, เด็ก, หรือผู้ฝึกใหม่ใช้เวลา 2 นาที
  • เวลาในการแข่งเริ่มต้นเมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดให้สัญญาณเริ่ม และการแข่งขันจบลงเมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดสั่งว่า “YAME (หยุด)”
  • ผู้รักษาเวลาควรให้สัญญาณหรือกดออดที่เสียงดังชัดเจน เพื่อบอกว่าเหลือเวลา 30 วินาที และ เมื่อหมดเวลาการแข่
วิดิโอสอนเล่นยูโด


ตัวอย่างการแข่งขัน

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กีฬากาบัดดี้ (kabaddi)


ความเป็นมาของกีฬากาบัดดี้(kabaddi)

          กีฬากาบัดดี้เป็นกีฬาพื้นบ้านมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ 4,000 ปีก่อน มักเล่นกันทั่วไปในแถบเอเชียเขตร้อน โดยเฉพาะในแถบเอเชียใต้ที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย แต่ชื่อเรียกแตกต่างกันไป คือ บังคลาเทศ เรียกว่า ฮาดูดู, อินเดียและปากีสถาน เรียกว่า กาบัดดี้, ศรีลังกา เรียก กูดู ,เนปาล เรียก โดโด ,มาเลเซีย เรียก ชิดูกูดู หรือไทยเองจะเรียกว่า ตี่จับ นั่นเอง
          โดยประเทศอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ ปากีสถาน และศรีลังกา ได้ร่วมกันก่อตั้ง สหพันธ์กาบัดดี้สมัครเล่นแห่งเอเชีย ( A.A.K.F. ) ขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ.1978 แต่กาบัดดี้เพิ่งจะถูกบรรจุให้จัดการแข่งขันในมหกรรมกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี ค.ศ.1990 โดยครั้งแรกนั้นมี 6 ชาติส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันคือ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน และเนปาล แต่เนื่องจากเป็นกีฬาใหม่คนจึงไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก

          จนกระทั่งในเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 12 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น กีฬากาบัดดี้ได้รับความสนใจจากผู้ชมจำนวนมาก เนื่องจากดูแล้วสนุก ตื่นเต้น เร้าใจ และยังได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์กาบัดดี้สมัครเล่นแห่งเอเชีย (A.A.K.F.), สมาคมกาบัดดี้ ญี่ปุ่น (J.A.K.A.) และสหพันธ์โอลิมปิกแห่งเอเชีย (I.O.A.) จนได้มีการจัดแข่งขัน กาบัดดี้ ประเภทชายตลอดในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ซึ่ง 5 ครั้งที่ผ่านมา อินเดียคว้าเหรียญทองมาครองได้ทั้งหมด ขณะที่ประเภทหญิงเพิ่งถูกบรรจุให้มีการแข่งขันครั้งแรกในปี 2010 ที่กวางโจวเกมส์ ซึ่งทีมชาติไทยได้ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขัน และได้เข้าชิงเหรียญทองกับอินเดียด้วย
          นอกจากนี้ กีฬากาบัดดี้ยังถูกบรรจุในการแข่งขันมหกรรมกีฬาของเอเชียอื่น ๆ ด้วย เช่น เอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ เอเชี่ยนบีชเกมส์ รวมทั้งยังมีการจัดแข่งขันกาบัดดี้ เวิล์ดคัพ ทุก 3 ปีครั้ง เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2004 ปัจจุบัน กีฬากาบัดดี้เริ่มแพร่หลายไปยังทวีปยุโรปมากขึ้น โดยพบว่า ในประเทศรัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ ก็นิยมเล่นกาบัดดี้ เช่นเดียวกับประเทศในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย 

 วิธีการเล่น-กติกา กาบัดดี้ แบบคร่าว ๆ

          รู้จักประวัติของกาบัดดี้กันไปแล้ว ก็มาทำความรู้จักกติกา กาบัดดี้ กันหน่อยดีกว่า โดยสนามแข่งขันประเภทชายจะกว้าง 10 เมตร ยาว 13 เมตร จำกัดน้ำหนักไม่เกิน 80 กิโลกรัม ส่วนประเภทหญิง สนามกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร จำกัดน้ำหนักไม่เกิน 70 กิโลกรัม
          กาบัดดี้ จะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ครึ่ง แข่งขันครึ่งละ 20 นาที พักครึ่งไม่เกิน 5 นาที ผู้เล่นจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 7 คน (มีผู้เล่นสำรองฝ่ายละ 5 คน รวมทั้งทีม 12 คน) แต่ละฝ่ายจะผลัดกันเป็นฝ่ายรุก และฝ่ายรับ หากเป็นฝ่ายรุก ผู้เล่น 1 คนของฝ่ายรุกจะต้องเดินไปยังฝั่งตรงข้าม ส่วนฝ่ายรับ 7 คนจะต้องยืนจับมือเรียงกันเป็นแถวไว้ คอยต้อนไม่ให้คนรุกกลับเข้าไปในแดนของตัวเอง หรือสามารถแตะเส้นกลางสนามได้ 

          ขณะที่ผู้รุกเอง หากเดินเลยเส้นกลางสนามไปแล้ว ต้องเปล่งเสียง "กาบัดดี้" ตลอดช่วงการหายใจครั้งเดียว และต้องพยายามแตะตัวฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งกลับไปแตะเส้นกลางสนามให้ได้ หากผู้เล่นฝ่ายรุกคนนั้นใช้เวลารุกนานกว่า 30 วินาที ไม่กลับแดนของตัวเอง ฝ่ายรับจะได้คะแนนทางเทคนิค 1 คะแนนทันที
          หากผู้รุกถูกฝ่ายรับจับ หรือหยุดเปล่งเสียงกาบัดดี้ ผู้รุกคนนั้นจะต้องออกจากสนามมานั่งพัก ให้ผู้รุกคนอื่นเล่นต่อไป โดยสลับเป็นฝ่ายรับบ้าง ส่วนฝ่ายรับหากเล่นอันตราย หรือทำผิดกติกาก็จะถูกให้ออกจากการแข่งขันเช่นกัน ทั้งนี้ ผู้เล่นจะกลับเข้ามาเล่นได้ใหม่ ก็ต่อเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามถูกประกาศให้ออกจากการแข่งขัน โดยจะกลับเข้ามาได้ในจำนวนที่เท่ากับฝ่ายตรงข้ามถูกให้ออก แต่หากเป็นการแข่งขันในช่วงต่อเวลาพิเศษเพื่อหาผู้ชนะ จะไม่มีการให้ผู้เล่นกลับเข้ามาในสนามได้ 

          แต่หากทีมใดเหลือผู้เล่นในสนาม 1 หรือ 2 คน ผู้ฝึกสอนสามารถแจ้งกรรมการขอเอาผู้เล่นออก เพื่อจะเริ่มเกมใหม่ 7 คนได้ โดยทีมนั้นจะเสียคะแนน 1 คะแนนต่อผู้เล่น 1 คน และต้องเสียคะแนนล้างทีมอีก 2 คะแนน เพื่อเริ่มเกมใหม่

สนามการแข่งขัน กี่ฬากาบัดดี้

การได้คะแนน 
  • หากฝ่ายรับจับผู้รุกไว้ได้ในแดนของฝ่ายรับ จะได้รับ 1 คะแนน
  • ผู้รุกที่รุกโดยไม่ผิดกติกา และทำให้ฝ่ายรับออกจากการเล่นได้ จะได้ 1 คะแนน
  • ผู้รุกสามารถข้ามเส้นคะแนนพิเศษ (Bonus Line) จะได้ 1 คะแนน
  • ผู้รุกสามารถข้ามเส้นคะแนนพิเศษ (Bonus Line) โดยไม่ได้สัมผัสหรือต่อสู้กับฝ่ายรับจะได้ทันที  1 คะแนน 
  • หากทำให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามถูกประกาศออกจากสนามจนหมดจะได้ 2 คะแนน
  • เมื่อทีมทำให้ผู้เล่นของฝ่ายตรงข้ามทั้งหมดถูกประกาศให้ออก และไม่มีผู้เล่นคนใดในทีมกลับมาเล่นใหม่ได้ ทีมนั้นก็จะได้คะแนนล้างทีม (Lona) 2 คะแนน

 ประโยชน์ของ กาบัดดี้ 

          กาบัดดี้ ถือเป็นกีฬาที่เล่นง่าย สนุกสนาน และเสียค่าใช้จ่ายน้อย แรกเริ่มกีฬากาบัดดี้ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อฝึกความคล่องแคล่วว่องไว ในการต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม นักกีฬากาบัดดี้จะได้ฝึกฝนทักษะการต่อสู้ ความฉลาดและไหวพริบ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทั้งขณะที่เป็นฝ่ายรุก และตั้งรับ รวมทั้งยังได้ฝึกพลังปอด อวัยวะภายใน เนื่องจากขณะออกเสียง "กาบัดดี้" หัวใจ ปอด อวัยวะภายในจะได้ทำงาน ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดีด้วย 

ตัวอย่างการแข่งขันกีฬา กาบัดดี้

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปันจักสีลัต (Pencak Silat)



          ปันจักสีลัต (Pencak Silat) เป็นคำที่มาจากภาษาอินโดนีเซียมาจากคำว่า "ปันจัก" (Pencak) หมายถึงการป้องกันตนเอง และคำว่า "สีลัต" (Silat) หมายถึงศิลปะรวมความแล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตนเอง กีฬาประเภทนี้เดิมเป็นศิลปะการต่อสู้ของคนเชื้อสายมาลายู ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส และสงขลา เรียกว่า สิละ” “ดีกาหรือ บือดีกาเป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงาม มีบางท่านกล่าวว่า สิละมีรากคำว่า ศิละ ภาษาสันสกฤต
         ทั้งนี้เพราะดินแดนของมลายูในอดีตเคยเป็นดินแดนอาณาจักรศรีวิชัย ที่มีวัฒนธรรมอินเดียเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ จึงมีคำสันสกฤตปรากฏอยู่มาก ประวัติความเป็นมาของปันจักสีลัตนั้น มีตำนานเล่าต่อกันมาหลายตำนาน ซึ่งมีส่วนตรงกันและแตกต่างกันบ้างโดยเฉพาะต้นกำเนิดของกีฬาประเภทนี้ซึ่ง เขียนขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่ได้เขียนมา อินโดนีเซียเล่าไปอย่างหนึ่ง มาเลเซียก็เล่าไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป แต่สำหรับครั้งนี้จะขอนำบทความส่วนหนึ่งที่เขียนโดย อาจารย์ประพนธ์ เรืองณรงค์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องสิละมวยไทยมุสลิม เพื่อเป็นการศึกษาในเรื่องสิละที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดทางภาคใต้รู้จักกันดี

          ประวัติความเป็นมาของปันจักสีลัตนั้น มีตำนานเล่าต่อกันมาหลายตำนาน ซึ่งมีส่วนตรงกันและแตกต่างกันบ้างโดยเฉพาะต้นกำเนิดของกีฬาประเภทนี้ซึ่งเขียนขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่ได้เขียนมา อินโดนีเซียเล่าไปอย่างหนึ่ง มาเลเซียก็เล่าไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป แต่สำหรับครั้งนี้จะขอนำบทความส่วนหนึ่งที่เขียนโดย อาจารย์ประพนธ์ เรืองณรงค์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องสิละมวยไทยมุสลิม เพื่อเป็นการศึกษาในเรื่องสิละที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดทางภาคใต้รู้จักกันดีสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงาม มีบางท่านกล่าวว่า สิละมีรากคำว่า ศิละ ภาษาสันสกฤตMubin Sheppard ได้กล่าวถึงตำนานสิละไว้ว่า การต่อสู้แบบสิละมีมาตั้งแต่ 400 ปีมาแล้วโดยกำเนิดที่เกาะสุมาตรา ต่อมาผู้สอนได้ดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัย ตำนานว่า สมัยหนึ่งสามสหายเชื้อสายสุมาตรา ชื่อ บูฮันนุดดิน ซัมซุดดิน และฮามินนุดดิน เดินทางจากมินังกาบัง ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราไปศึกษาวิทยายุทธ ณ เมืองอะแจ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสุมาตรา สำนักวิทยายุทธนั้นอยู่ใกล้สระน้ำใหญ่ น้ำในสระไหลมาจากหน้าผาสูงชัน ริมสระมีต้นบอมอร์ ออกดอกสีม่วงสดกลมกลืนกับสีนกกินปลา ซึ่งถลาร่อนเล่นน้ำเนืองนิตย์ วันหนึ่ง ฮามินนุดดินไปตักน้ำที่สระแห่งนั้น เขาสังเกตเห็นว่าแรงน้ำตกทำให้น้ำในสระเป็นระลอกคลื่นหมุนเวียน และที่น่าทึ่งคือ ดอก บอมอร์ช่อหนึ่ง ซึ่งหล่นจากต้น ถูกน้ำพัดตกลงกลางสระแล้วจึงถอยย้อนกลับไปใกล้ตลิ่งลอยไปลอยมา เช่นนี้ประหนึ่งว่ามีชีวิต จิตใจ ฮามินนุดดิน เพิ่มความพิศวงถึงกับวางกระบอกไม้ไผ่ซึ่งบรรจุน้ำ แล้วจ้องมองดอกไม้ในสระเป็นเวลานาน จากนั้นชายหนุ่มรีบคว้าดอกไม้ช่อนั้นกลับมา เขาได้นำลีลาการลอยของดอกบอมอร์มาประยุกต์สอนการร่ายรำให้แก่เพื่อนทั้งสองและช่วยกันคิดวิธีเคลื่อนไหวโดยอาศัยแขนขา เพื่อป้องกันฝ่ายปรปักษ์ วิชาสิละจึงเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้

         เมื่อสามสหายเดินทางกลับถิ่นเดิมแล้ว ต่างตั้งตัวเป็นครูสอนวิทยายุทธและศาสนาอิสลาม การแต่งกายของนักสิละเท่าที่สังเกตมุ่งที่ความสวยงามเป็นประการสำคัญ เช่น มีผ้าโพกศีรษะ สวมเสื้อคอกลมหรือคอตั้ง นุ่งกางเกงขายาว แล้วมีผ้าโสร่งเรียกผ้าชอเกตลาย สดสวยสวมทับพร้อมกับมีผ้าลือปักคาดสะเอวหรือมิฉะนั้นก็คาดเข็มขัดทับโสร่งให้กระชับ นอกจากนั้นเหน็บกริชตามฉบับนักสู้ไทยมุสลิม

          เครื่องดนตรีสิละประกอบด้วยกลองยาว 1 ใบ กลองเล็ก 1 ใบ ฆ้อง 1 คู่ และปี่ยาว 1 เลา เมื่อนักสิละขึ้นบนสังเวียนแล้ว ดนตรีจะประโคมเรียกความสนใจคนดู โดยเฉพาะเสียงปี่เร้าอารมณ์ไม่ยิ่งหย่อนกว่ามวยไทย การไหว้ครูแบบสิละนั้น เขาไหว้ทีละคน วิธีการไหว้ครูแต่ละสำนักแตกต่างกันไป สังเกตว่าขณะรำไหว้ครูนั้น นักสิละจะทำปากขมุบขมิบว่าคาถาเป็นภาษาอาหรับ และที่สำคัญคือขอพรสี่ประการ สรุปเป็นภาษาไทยดังนี้
^  ขออโหสิกรรมแก่คู่ชิงชัย
^  ขอให้ปลอดภัยจากปรปักษ์
^  ขอให้เป็นที่รักแก่เพื่อนบ้าน
^  ขอให้ท่านผู้ชมนิยมศรัทธา 

ตัวอย่างการแข่งขันกีฬาปันจักสีลัต